ซีไรท์ ทับศัพท์มาจากคำว่า S.E.A. Write ซึ่งย่อมาจาก Southeast Asian Writers' Award หมายถึง รางวัลวรรณกรรมที่มอบ ให้แก่ นักเขียน 10 ประเทศอาเซียน ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ชื่อเต็มในภาษาไทย คือ "รางวัลวรรณกรรมดีเด่นอาเซียน" แต่มักจะเรียกย่อๆว่า รางวัล ซีไรท์ อันเป็นชื่อซึ่งรู้จักกันทั่วไปในวงการ ประพันธ์ของประเทศไทย
ประวัติความเป็นมาของรางวัลซีไรท์เมื่อต้นปี พ.ศ. 2522 ฝ่ายบริหารของโรงแรมโอเรียนเต็ลได้ริเริ่มรางวัลนี้ เนื่องจากโรงแรมโอเรียนเต็ลมีประวัติเกี่ยวข้องกับนักเขียนชั้นนำของโลกมาเป็นเวลาช้านาน จะเห็นได้จากการที่จัดส่วนหนึ่งเป็น " ตึกนักเขียน" (AUTHORS' RESIDENCE) ขึ้น ประกอบด้วยห้องชุดพิเศษ โดยใช้ชื่อนักเขียนคนสำคัญที่เคยมาพัก ได้แก่ ซอมเมอร์เซ้ท มอห์ม, โนเอล โคเวิด, โจเซฟ คอนราด และเจมส์ มิเชนเนอร์ นอกจากนี้ยังมีห้องชุด เกรแฮม กรีน, จอห์นเลอ คาร์เร่ และ บาบาร่า คาร์แลนด์ ในตึกริเวอร์วิงด้วย ฝ่ายบริหารของโรงแรมโอเรียนเต็ลจึงได้ร่วมปรึกษากับ บริษัท การบินไทย และกลุ่มบริษัทในเครือ อิตัลไทย จัดตั้งรางวัลวรรณกรรมนี้ขึ้น โดยมีพระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าเปรม บุรฉัตร ทรงเป็นประธานและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ต่อมามูลนิธิจิม ทอมป์สัน ได้เข้าร่วมในปี พ.ศ. 2524 (แต่ถอนตัวออกในปี 2530), ธนาคารกรุงเทพ เข้าร่วมในปี พ.ศ. 2527 และ บริษัทริชมอนเด้ (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วมในปี พ.ศ. 2531 หัวข้อในการหารือในครั้งนั้นคือ การส่งเสริมนักเขียนในกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 และการเผยแพร่ให้โลกรู้ถึงวัฒนธรรมทางวรรณกรรมของภูมิภาคนี้
ครั้งที่
|
ปี
|
ชื่อหนังสือ
|
ชื่อผู้แต่ง
|
ประเภท
|
1
|
2522
| ลูกอีสาน | คำพูน บุญทวี | กวีนิพนธ์ |
2
|
2523
| เพียงความเคลื่อนไหว | เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ | กวีนิพนธ์ |
3
|
2524
| ขุนทองเจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง | อัศศิริ ธรรมโชติ | เรื่องสั้น |
4
|
2525
| คำพิพากษา | ชาติ กอบจิตติ | นิยาย |
5
|
2526
| นาฏกรรมบนลานกว้าง | คมทวน คันธนู | กวีนิพนธ์ |
6
|
2527
| ซอยเดียวกัน | วานิช จรุงกิจอนันต์ | เรื่องสั้น |
7
|
2528
| ปูนปิดทอง | กฤษณา อโศกสิน | นิยาย |
8
|
2529
| ปณิธานกวี | อังคาร กัลยาณพงศ์ | กวีนิพนธ์ |
9
|
2530
| ก่อกองทราย | ไพฑูรย์ ธัญญา | เรื่องสั้น |
10
|
2531
| ตลิ่งสูง ซุงหนัก | นิคม รายยาวา | นิยาย |
11
|
2532
| ใบไม้ที่หายไป | จิรนันท์ พิตรปรีชา | กวีนิพนธ์ |
12
|
2533
| อัญมณีแห่งชีวิต | อัญชัน | เรื่องสั้น |
13
|
2534
| เจ้าจันทร์ผมหอม | มาลา คำจันทร์ | นิยาย |
14
|
2535
| มือนั้นสีขาว | ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ | กวีนิพนธ์ |
15
|
2536
| ครอบครัวกลางถนน | ศิลา โคมฉาย | เรื่องสั้น |
16
|
2537
| เวลา | ชาติ กอบจิตติ | นิยาย |
17
|
2538
| ม้าก้านกล้วย | ไพวรินทร์ ขาวงาม | กวีนิพนธ์ |
18
|
2539
| แผ่นดินอื่น | กนกพงศ์ สงสมพันธ์ | เรื่องสั้น |
19
|
2540
| ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน | วินทร์ เลียววารินทร์ | นิยาย |
20
|
2541
| ในเวลา | แรคำ ประโดยคำ | กวีนิพนธ์ |
21
|
2542
| สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน | วินทร์ เลียววารินทร์ | เรื่องสั้น |
22
|
2543
| อมตะ | วิมล ไทรนิ่มนวล | นิยาย |
23
|
2544
| บ้านเก่า | โชคชัย บัณฑิต | กวีนิพนธ์ |
24
|
2545
| ความน่าจะเป็น | ปราบดา หยุ่น | เรื่องสั้น |
25
|
2546
| ช่างสำราญ | เดือนวาด พิมวนา | นิยาย |
26
|
2547
| แม่น้ำรำลึก | เรวัตร์ พันธ์พิพัฒน์ | กวีนิพนธ์ |
27
|
2548
| เจ้าหงิญ | บินหลา สันกลาคิรี | เรื่องสั้น |
28
|
2549
| ความสุขของกะทิ | งามพรรณ เวชชาชีวะ | นวนิยาย |
29
|
2550
| โลกในดวงตาข้าพเจ้า | มนตรี ศรียงค์ | บทกวี |
30
|
2551
| เราหลงลืมอะไรบางอย่าง | วัชระ สัจจะสารสิน | รวมเรื่องสั้น |
31
|
2552
| ลับแล แก่งคอย | อุทิศ เหมะมูล | นวนิยาย |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น